องค์ประกอบพื้นฐานของระบบสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์นั้น
จะทำได้ก็ต่อเมื่อมีองค์ประกอบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล
(Sender)
ข้อมูลต่างๆ
ที่อยู่ต้นทางจะต้องจัดเตรียมนำเข้าสู่อุปกรณ์สำหรับส่งข้อมูล
ซึ่งได้แก่เครื่องพิมพ์
หรืออุปกรณ์ควบคุมต่าง ๆ จานไมโครเวฟ จานดาวเทียม
ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นถูกเปลี่ยนให้อยู่ใน รูป
แบบที่สามารถส่งข้อมูลนั้นได้ก่อน
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล
(Receiver)
ข้อมูลที่ถูกส่งจากอุปกรณ์ส่งข้อมูลต้นทาง
เมื่อไปถึงปลายทางก็จะมีอุปกรณ์สำหรับ รับข้อมูล
เหล่านั้นเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป อุปกรณ์เหล่านี้ได้แก่ เครื่องพิมพ์
คอมพิวเตอร์ จาน
ไมโครเวฟ จานดาวเทียม ฯลฯ
3. โปรโตคอล
(Protocol)
โปรโตคอล
คือ กฎระเบียบ หรือวิธีการใช้เป็นข้อกำหนดสำหรับการสื่อสาร เพื่อให้ผู้รับและผู้ส่ง
เข้าใจกันได้ ซึ่งมีหลายชนิดให้เลือกใช้ เช่น TCP/IP,
X.25, SDLC เป็นต้น
4. ซอฟต์แวร์
(Software)
การส่งข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีโปรแกรมสำหรับดำเนินการ
และควบคุมการส่งข้อมูล
เพื่อให้ได้ข้อมูลตามที่กำหนดไว้ ได้แก่ Novell’s
Netware, UNIX, Windows NT, Windows 2003 ฯลฯ
5. ข่าวสาร
(Message)
เป็นรายละเอียดซึ่งอยู่ในรูปแบบต่าง
ๆ ที่จะส่งผ่านระบบการสื่อสาร ซึ่งมีหลายรูปแบบดังนี้
5.1 ข้อมูล
(Data) เป็นรายละเอียดของสิ่งต่าง
ๆ ซึ่งถูกสร้างและจัดเก็บด้วยคอมพิวเตอร์ มีรูป
แบบแน่นอน เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า เป็นต้น ข้อมูลสามารถนับจำนวนได้
และส่งผ่านระบบสื่อสารได้เร็ว
5.2 ข้อความ
(Text) อยู่ในรูปของเอกสารหรือตัวอักขระ
ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ชัดเจนนับจำนวนได้
ค่อนข้างยาก และมีความสามารถในการส่งปานกลาง
5.3 รูปภาพ
(Image) เป็นข่าวสารที่อยู่ในรูปของภาพกราฟิกแบบต่าง
ๆ ได้แก่ รูปภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว
ภาพวีดีโอ
ซึ่งข้อมูลชนิดนี้จะต้องอาศัยสื่อสำหรับเก็บ และใช้หน่วยความจำเป็นจำนวนมาก
5.4 เสียง
(Voice) อยู่ในรูปของเสียงพูด
เสียงดนตรี หรือเสียงอื่น ๆ ข้อมูลชนิดนี้จะกระจัดกระจาย ไม่
สามารถวัดขนาดที่แน่นอนได้ การส่งจะทำได้ด้วยความเร็ว ค่อนข้างต่ำ
6. ตัวกลาง
(Medium)
เป็นตัวกลางหรือสื่อกลางที่ทำหน้าที่นำข่าวสารในรูปแบบต่าง
ๆ จากผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งต้นทางไปยังผู้รับ
หรืออุปกรณ์รับปลายทาง ซึ่งมีหลายรูปแบบได้แก่ สายไป ขดลวด สายเคเบิล
สายไฟเบอร์ออฟติก ตัวกลาง
อาจจะอยู่ในรูปของคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น คลื่นไมโครเวฟ คลื่นดาวเทียม
หรือคลื่นวิทยุ เป็นต้น
อ่านเพิ่มเติม